ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่
๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพ
เมื่อวันเสาร์ที่ ๑
มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้รับพระราชทานนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ทำให้ทรงมีพระเกียรติยศเป็นชั้นที่ ๒ รองจาก
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมาร
เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๖ทรงได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษทรงได้ศึกษาวิชาการทหารบก
ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนเฮิสต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐
ต่อมาได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชา ประวัติศาสตร์และกฎหมาย ที่วิทยาลัยไครสต์เชิช มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้กระทำเป็นสองคราว คราวแรกเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร
เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ อีกคราวเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่
๒๘พฤศจิกายน ถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๔๕๔ โดยมีบรรดาผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ของประเทศที่มีสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย
กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นตัวแทนของประมุขประเทศต่างๆ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชธิดาพระองค์เดียว จากพระนางเจ้าสุวัทนา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชธิดาพระองค์เดียว จากพระนางเจ้าสุวัทนา
พระวรราชเทวี
ซึ่งประสูติเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘
ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑
นาฬิกา ๔๕ นาที พระชนมพรรษาเป็นปีที่ ๔๖ เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้
๑๕ พรรษา
ด้านการศึกษา
ได้ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล
ได้แก่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในระดับอุดมศึกษา
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
ด้านการเศรษฐกิจ
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินพุทธศักราช ๒๔๕๖
ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ
ทรงริเริ่มก่อตั้ง
บริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น
ด้านการคมนาคม
ได้ทรงปรับปรุงและขยายงานกิจการรถไฟ
เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ
ถึงเชียงใหม่ สายใต้จากธนบุรีถึงไปเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม ๖ เพี่อเชื่อมทางรถไฟในพระราชอาณาจักร
ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
ทรงโปรดศิลปะการแสดงโขน ละคร
จึงได้ทรงตั้ง กรมมหรสพ ขึ้นเพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย
และยังได้ทรงสร้างโรงละครหลวง ไว้ในพระราชวังทุกแห่ง นอกจากนี้ ยังทรงสนพระราชหฤทัยด้านจิตรกรรม
สถาปัตยกรรมไทย
ด้านการต่างประเทศ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราช-โองการประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายเยอรมัน ซึ่งประกอบด้วย
ออสเตรีย – ฮังการี บัลกาเรีย
และตุรกี ซึ่งเป็นกลุ่มมหาอำนาจกลาง
โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส
และรัสเซียเป็นผู้นำ เมื่อวันที่
๒๒ กรกฏาคม พ.ศ.
๒๔๖๐ พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย
ผลของสงครามประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คือ สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และสนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของประเทศไทย
ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์และ วชิรพยาบาล และได้เสด็จฯ
ไปทรงเปิดสถานเสาวภา เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.
๒๔๖๕ และทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๕๗
ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ
ได้ทรงจัดตั้ง
กองเสือป่า ขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๔๕๔ และทรงจัดตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงคือ
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน
ด้านการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตย
ทรงได้ศึกษาวิชาการปกครองระบอบนี้มาจากประเทศอังกฤษ
ได้ทรงทดลองตั้ง เมืองมัง หลังพระตำหนักจิตรลดาเดิม ทรงจัดให้เมืองมัง มีระบอบการปกครองของตนเอง
ตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงเมืองจำลอง ดุสิตธานี ในพระราชวังดุสิต
ซึ่งต่อมาทรงย้ายไปพระราชวังพญาไท
ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์
ได้ทรงเริ่มงานประพันธ์ตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่
ณ ประเทศอังกฤษ พระราชนิพนธ์ของพระองค์มีทุกประเภท ตั้งแต่ โขน ละคร พระราชดำรัส พระบรมราชานุศาสนีย์ เทศนาปลุกใจเสือป่า นิทาน มีทั้งภาษาไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งเต็มไปด้วย
ข้อคิดและคำคม วรรณกรรมของพระองค์ท่านจะสอนให้รักชาติ ศาสนา
และพระมหากษัตริย์ ทรงส่งเสริมให้มีการแต่งหนังสือ
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร
พระราชนิพนธ์ที่ได้รับการพิจารณายกย่อง คือ หัวใจนักรบ ด้านละครพูด มัทนะพาธาด้านคำฉันท์
และพระนลคำหลวง ด้านกวีนิพนธ์ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก)
ก็ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ท่านในฐานะที่ทรงเป็นทั้ง นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละคร
ได้ทรงเป็นปราชญ์สยามคนที่ ๕ ประชาชนได้ถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
สำหรับด้านงานหนังสือพิมพ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตรา พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร
พ.ศ. ๒๔๖๕ ขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น